ว่าแต่. . Chart คืออะไร ?
Chart ก็คือ กราฟ หรือ แผนภูมิ ที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลโดยแทนด้วย เส้น สี และ
ตัวอักษรสั้นๆ เพื่อให้สามารถอธิบายข้อมูลได้ง่ายขึ้น
แต่!! เราจะรู้ได้ยังไงว่าเราควรจะใช้แบบไหนดี. . .
มาเข้าเรื่องกันดีกว่า. .
ในการเลือกใช้ Chart ต่างๆให้เหมาะสมกับงานหรือสิ่งที่ต้องการนำเสนอ
สิ่งที่คุณต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ก่อน คือ
- ต้องการนำเสนออะไรบ้างบน Chart ของเรา หรือต้องการแสดงกี่ตัวแปร 1, 2, หรือมากกว่านั้น (ง่ายๆก็คือ อยากดูอะไรล่ะ)
- ต้องการแสดงจำนวนข้อมูลมากน้อยขนาดไหน กี่รายการสำหรับแต่ละตัวแปรที่แสดง
- ต้องการนำเสนอข้อมูลเป็นช่วงเวลา หรือทั้งหมด
แต่!!! จะดีกว่ามั้ยถ้าเราเลือกใช้ได้ถูกประเภท. .
อย่างเช่น
- Bar Chart หรือ กราฟแท่งต่างๆ จะเก่งในด้าน “การเปรียบเทียบ” ข้อมูล
- Line Chart จะเก่งในด้านการดู “แนวโน้ม” ความเป็นไปได้ของข้อมูล
- Scatter plot จะเก่งในด้านของการดู “การกระจาย” ของข้อมูล และ ดูหาความสัมพันธ์ของข้อมูล
- Pie Chart จะเก่งในด้านการดู “องค์ประกอบ” ของข้อมูล และเน้นความสวยงาม แต่ไม่ควรใช้ในการเปรียบเทียบ
“ หากคุณกำลังมองหาบทความที่จะช่วยให้คุณเลือกใช้ Chart ได้อย่างถูกต้อง. . ”
ผมขอเสนอออออออออออออออ . . . . แท่นน น แทน น แท๊นนนน น น . . .
บทความที่(อาจจะ)ช่วยในการตัดสินใจเลือกใช้ Chart ได้อย่างถูกต้องและปังเว่ออร์
ก่อนอื่นเลย มารู้จักกับประเภทต่างๆกันก่อนดีกว่า . .
ก่อนจะไปถึงขั้นตอนการเลือกใช้นั้น เราก็ต้องรู้จักประเภทของสิ่งที่เราจะใช้ก่อน
โดยผมแบ่งประเภทพื้นฐานของ Chart เป็น 4 ประเภทดังนี้
- Comparison (ดูการเปรียบเทียบ)
เช่น ต้องการนำเสนอข้อมูลเปรียบเทียบยอดขายในแต่ละเดือน เพื่อดูว่าเดือนไหนมียอดขายสูงที่สุด
2. Composition (ดูองค์ประกอบ)
เช่น ต้องการนำเสนอกลุ่มของลูกค้าเพศชาย และหญิงที่เข้ามาซื้อของภายในร้านสะดวกซื้อโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์
3. Distribution (ดูการกระจายตัวของข้อมูล หรือ ดูการเกาะกลุ่มของข้อมูล)
เช่น ต้องการนำเสนอกลุ่มของลูกค้าที่มีการซื้อของ บ่อย และราคาสูง เพื่อกำหนดให้เป็นลูกค้าชั้นดี
4. Relationship (ดูความสัมพันธ์ของข้อมูล)
เช่น ต้องการนำเสนอการเข้าชมเว็บไซต์ในแต่ละชั่วโมงเพื่อดูว่าช่วงเวลาไหนที่มีการเข้าชมมาก และน้อยเพียงใด
และแบ่งตามประเภทข้อมูลเป็นอีก 2 ประเภท คือ
- Static (ข้อมูลที่เป็นค่าคงที่)
เช่น ข้อมูลเพศ, ประเภทสินค้า, ยี่ห้อรถยนต์ เป็นต้น
2. Over Time (ข้อมูลที่เป็นช่วงเวลา)
เช่น ข้อมูลวันที่สมัครสมาชิก, วันที่หมดอายุการใช้งาน, วันที่เข้าชมเว็บไซต์ เป็นต้น
ในส่วนของบทความนี้ ขอพักไว้เพียงเท่านี้ก่อน และหวังว่าทุกคนน่าจะพอรู้จักกับประเภทของ Chart กันพอสมควร
ไว้บทความถัดไปเราจะมาลงรายละเอียดของประเภทต่างๆ กันและจะพูดถึง Chart แต่ละตัวว่าควรใช้อย่างไร และต้องใช้กี่ตัวแปร
สรุป
- Chart คือ กราฟ หรือ แผนภูมิ ที่ใช้ในการแสดงข้อมูลโดยแทนด้วย เส้น สี และตัวอักษรสั้นๆ เพื่อให้สามารถอธิบายข้อมูลได้ง่ายขึ้น
- Chart แบ่งเป็น 4 ประเภทพื้นฐาน ได้แก่
- Comparison (ไว้ดูการเปรียบเทียบ)
- Composition (ดูองค์ประกอบ)
- Distribution (ดูการกระจายตัวของข้อมูล หรือ ดูการเกาะกลุ่มของข้อมูล)
- Relationship (ดูความสัมพันธ์ของข้อมูล)
เกร็ดน่ารู้
ไหนๆก็พูดถึง Chart แล้วก็อดไม่ได้ที่จะต้องอธิบายสองสิ่งนี้สักหน่อย
นั่นคือ Report และ Dashboard. .
“เพราะไม่ว่า Report หรือ Dashboard ต่างก็ใช้ Chart
เพื่อนำเสนอข้อมูลต่างๆ”
แล้ว Report กับ Dashboard มันต่างกันยังไงล่ะ ?
ไม่ว่าจะเป็น Report หรือ Dashboard ต่างก็มีเป้าหมายเดียวกันคือการนำเสนอ
ภาพรวมของข้อมูลนั้นๆ โดยอาจจะมีข้อมูล กราฟ หรือ ตาราง หรือตัวเลขต่างๆ
แต่ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ
“Report เป็นการสำเสนอข้อมูลต่างๆที่ยังไม่ถูกวิเคราะห์”
“Dashboard เป็นการสำเสนอข้อมูลที่ถูกวิเคราะห์มาแล้ว”
แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นสำหรับบทความนี้ 55555+
สรุป เกร็ดน่ารู้
- Report คือ การสำเสนอข้อมูลต่างๆที่ ยังไม่ถูกวิเคราะห์
- Dashboard คือ การสำเสนอข้อมูลที่ ถูกวิเคราะห์มาแล้ว
สำหรับบทความนี้ หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย หรือท่านใดมีคำถาม หรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ใส่ไว้ที่ Comment ได้เลยนะฮะ
สำหรับวันนี้ . .สวัสดีครับ /\
ไว้พบกัน nestJs x Data Visualizations เร็วๆนี้. .