Data Visualizations EP.2 (Bar Chat กับ Histogram ความเหมือนที่แตกต่าง)
จากบทความที่แล้วเราได้คุยกันไปในเรื่องของการเลือกใช้ Chart ว่าจะเลือกใช้แบบไหนถึงจะเข้ากับ Storytelling (การเล่าเรื่องด้วยภาพ) ของเราที่ต้องการนำเสนอ
หรือท่านไหนที่ยังไม่ได้อ่านก็ตามไปที่ลิงค์ด้านล่างได้เลยนะฮาฟ
และใน EP. นี้เราจะมาดูความเหมือนที่แตกต่างของ Bar Chart กับ Histogram กัน
แต่เดี๋ยวก่อน !!
“มาทำความรู้จักกับประเภทข้อมูลกันก่อนดีกว่า . .”
ในการทำ Visualization ที่ดีนั้น เราจำเป็นต้องรู้จักกับประเภทของข้อมูลก่อน โดยเบื้องต้นจะแบ่งข้อมูลเป็นสองประเภทคือ
- Discrete Data หรือ ข้อมูลที่ไม่มีความต่อเนื่องกัน
ข้อมูลประเภทนี้จะเป็นข้อมูลที่สามารถบ่งบอกถึง สถานะ ประเภท คุณสมบัติ เช่น
- เพศ
- ประเภทของสินค้า
- จำนวนลูกค้าที่ซื้อสินค้าต่างกัน
- จำนวนนักเรียนในแต่ละห้องเรียน
2. Continuous Data หรือ ข้อมูลที่มีความต่อเนื่องกัน
ข้อมูลประเภทนี้จะเป็นข้อมูลที่จะบอกในเชิงปริมาณ หรือข้อมูลที่สามารถหาค่าความสัมพันธ์โดยหลักการทางคณิตศาสตร์ทั่วไปได้ เช่น
- อุณหภูมิของตู้แช่แข็ง
- ราคาน้ำมัน
- ชั่วโมง
- อัตราแลกเปลี่ยน
“มาเข้าเรื่องกันดีกว่า”
ก่อนอื่นเลยเรามาดูความแตกต่างระหว่าง Bar Chart กับ Histogram กันก่อนดีกว่า
เมื่อพูดถึงความต่างก็ต้องเกิดข้อเปรียบเทียบในแต่ละมุมมองขึ้นมาผมเลยสรุปมาเป็นข้อๆ ให้ตามนี้
การแสดงผล
Histogram
- นำเสนอในรูปแบบกราฟแท่งเพื่อแสดงความถี่ หรือความต่อเนื่องของข้อมูลประเภทตัวเลขโดยที่ในแต่ละแท่ง (bin) จะเป็นช่วงของข้อมูล เช่น 0–10, 11–20
BarChart
- นำเสนอในรูปแบบกราฟแท่งเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างหมวดหมู่ต่างๆโดยที่ในแต่ละแท่ง (bin) จะแยกออกเป็นกลุ่มของข้อมูลนั้นๆเพียงอย่างเดียว
การวัดผล
Histogram
- ดู การกระจายตัว ของข้อมูลที่มีความต่อเนื่องกัน เช่น อุณหภูมิภายในสนามบิน
BarChart
- ดูเพื่อ เปรียบเทียบ ข้อมูลในแต่ละหมวดหมู่ ที่ไม่มีความเกี่ยวเนื่องกันเช่น จำนวนประเภทของสัตว์ในสวนสัตว์
การนำเสนอ
Histogram
- นำเสนอข้อมูลในเชิงปริมาณ
BarChart
- นำเสนอข้อมูลเป็นหมวดหมู่
พื้นที่
Histogram
- กราฟแท่งจะ ติดกัน ไม่มีช่องว่างระหว่างแท่ง(bin) หรือเป็นช่องว่างที่เป็นช่วงระหว่างช่วงของข้อมูล
BarChart
- กราฟแท่งจะ มีช่องว่าง ระหว่างแท่ง(bin) โดยที่ช่องหว่างระหว่างแท่ง(bin) จะเท่าๆกัน
องค์ประกอบ
Histogram
- กราฟแท่งจะถูก รวบเป็นกลุ่มเข้าด้วยกัน ทำให้เห็นเป็นช่วงข้อมูล
BarChart
- กราฟแท่งจะแสดงตามหมวดหมู่ ของใครของมัน
การเรียงลำดับข้อมูล
Histogram
- ไม่ได้
BarChart
- ได้
ความกว้างของกราฟแท่ง
Histogram
- ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน
BarChart
- ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน
** แต่ส่วนใหญ่ในการสร้างแท่ง (bin) แต่ละอัน ก็จะมีขนาดที่เท่ากัน ในการไม่เท่ากันของขนาด อาจมองได้ว่า Histogrom มีความต่อเนื่องกันของข้อมูลในระหว่างแท่ง(bin) ซึ่งต่างจาก BarChart ที่ไม่มีความต่อเนื่องกันในแต่ละแท่ง (bin)
สรุป
ในความเหมือนที่แตกต่างของ Histogram กับ BarChart ก็คือ
- การแสดงผลที่แตกต่างกัน คือ แสดงความถี่ของข้อมูล(Histogram) และ การเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่ม (BarChart)
- การวัดผลที่แตกต่างกันคือ ดูการกระจายตัวของข้อมูล (Histogram) เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่ม (BarChart)
- ลักษณะการนำเสนอและองค์ประกอบคือ แท่ง(bin) ต่างๆจะอยู่ใกล้กันและข้อมูลจะมีความต่อเนื่องกัน (Histogram) และ แท่ง (bin) จะอยู่ห่างกันในระยะเท่าๆกันเพื่อนำเสนอข้อมูลในแต่ละหมวดหมู่
- Histogram ไม่สามารถเรียงลำดับได้ เพราะข้อมูลถูกแบ่งเป็นช่วงๆ แต่ BarChart สามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อย หรือ น้อยไปมากได้
มาถึงตรงนี้ก็ . . .ขอกล่าวแบบเดิมก็แล้วกัน :D
สำหรับบทความนี้ ผมก็หวังว่าทุกคนจะสามารถเพิ่มกระบวนการคิดในการเลือกใช้กราฟต่างๆได้ไปอีก หนึ่งระดับนะครับ แล้วก็สุดท้ายนี้
หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย หรือท่านใดมีคำถาม หรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ใส่ไว้ที่ Comment ได้เลยนะฮะ
อ่ออ แล้วก็พอดีผมไปเจอคำๆนึงเข้าแล้วรู้สึกชอบและเป็นแรงผลักดันในการค้นคว้าสิ่งต่างๆ คือ
“เก่งขึ้นไปอีกนิ้ดแล้วนะตัวเรา”
สำหรับวันนี้ . .สวัสดีครับ /\
Ref.